ระบบช่วยทำการ scaling เหรียญ Bitcoin นามว่า Segregated Witness (SegWit) ที่ทำการอัพเกรดผ่าน soft fork ได้ถูกเปิดใช้งานบนเครือข่าย Bitcoin อย่างสมูบรณ์แบบแล้ว
โดย ณ ที่บล็อกที่ 481,824 ที่ขุดได้เวลา 8 โมง 57 นาทีเวลาประเทศไทยที่ได้มีการเปิดใช้โคดของ SegWit ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อ้างอิงจากเว็บ SegWit.co ซึ่งการอัพเดตที่ว่านี้นักพัฒนาและหลายคนเชื่อว่ามันจะมาช่วยแก้ปัญหาการโอน Bitcoin กันที่ช้ามากๆ และรวมถึงทำให้ค่าธรรมเนียมถูกลง
อีกข้อหนึ่งก็คือ SegWit แก้ปัญหาการคอขวดการคอนเฟิร์มธุรกรรมโดยการจุดขนาดของ “ธุรกรรม” ไม่ใช่การจัดขนาดของ “บล็อกเก็บธุรกรรม” แบบที่โพรโตคอลของ Bitcoin Cash และ SegWit2x เลือกใช้ กล่าวคือเพิ่มขนาดบล็อกเป็น 8MB และ 2MB ตามลำดับ
ทว่าคำถามที่ตามมาก็คือ อะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนี้ภายในอีกไม่กี่ชั่วโมง, วัน, สัปดาห์, เดือน และต่อๆไป?
ทุกอย่างจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของบล็อกเก็บธุรกรรม แต่จะเป็นขนาดของตัวธุรกรรม
เทคนิคของ SegWit คือการจับเอาธุรกรรมหลายๆธุรกรรมขนาดราวๆ 4MB (อย่างเต็มที่) มาบีบอัดและจับยัดลงไปในบล็อกขนาด 1MB ให้พอดี ส่งผลทำให้เครือข่ายของ Bitcoin สามารถทำงานได้อย่างไหลลื่นมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่าทุกๆบล็อกจะมีธุรกรรมขนาดนั้นในทันทีในวันนี้ เพราะการที่ธุรกรรมจะได้ใช้ประโยชน์จาก SegWit นั้นมันจะต้องถูกส่งจาก address ของ SegWit ไม่ใช่การส่งไปหา address ของ SegWit เพียงอย่างเดียว
ซึ่งในระหว่างที่เขียนข่าวอยู่นี้ ยังไม่มี Bitcoin ไหนถูกส่งโดย address ของ SegWit เลยสักตัว ก็ต้องรอดูกันต่อไป
เรื่องสำคัญอีกอย่างก็คือกระเป๋า Bitcoin และแอพต่างๆนั้นจะต้องมีการรองรับธุรกรรม SegWit ด้วย ซึ่งผู้ให้บริการประเป๋าบางเจ้าอย่างเช่น GreenWallet อาจจะติดตั้งฟีเจอร์นี้ตั้งแต่วันแรกที่มีการเปิดใช้หรืออีกวันถัดไปหลังจากนั้น ก่อนหน้านี้นักพัฒนาของ GreenAddress นาม Lawrence Nahum ได้ออกมากล่าวว่า “เราได้เปิดระบบที่ว่านี้บน testnet แบบปกติมาเป็นเวลานานแล้ว” เขากล่าว “เราจะทำให้มันรองรับ SegWit แบบทันทีที่มาการเปิดใช้ เราแค่ต้องการที่จะแน่ใจว่าการเปิดใช้งาน SegWit นั้นไม่ติดขัดอะไรก่อนที่เราจะเปิดระบบของทางฝั่งเรา”
และอาจจะมีผู้ให้บริการกระเป๋า Bitcoin แบบบนเว็บเจ้าอื่นๆอย่างเช่น BitGo หรือผู้ให้บริการเว็บเทรดอย่าง Bitstamp, Kraken และ OKCoin ที่คาดว่าจะรองรับ SegWit เร็วๆนี้แล้วเช่นกัน
เนื่องด้วยการที่มันเป็น soft fork นั้น ผู้ใช้งาน Bitcoin ปัจจุบันยังสามารถที่จะส่งหา Bitcoin กันได้ตามปกติแบบไม่มีอะไรเกิดขึ้น แม้ว่าระบบที่ไม่ได้อัพเกรดให้รองรับ SegWit จะไม่ได้ใช้ฟีเจอร์ตรงส่วนนี้ไปก็ตาม
Lightning Network และอื่นๆอีกมาก
อาจกล่าวได้ว่าเป็นฟีเจอร์ที่มีผู้คนให้ความสนในมากกว่าการเพิ่มขนาดบล็อกเสียอีก ซึ่งเทคโนโลยีแบบ second-layer อย่างเช่น Lightning Network ตัวนี้จะสามารถที่จะถูกนำมาติดตั้งบน Bitcoin ง่ายขึ้นกว่าเดิมเนื่องจากว่ามี SegWit แล้ว
เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ยังคงอยู่ในช่วงพัฒนาอยู่ และมันอาจจะใช้เวลาอีกประมาณสองถึงสามเดือนกว่าที่ผู้ใช้งานทั่วๆไปจะได้ใช้งานมัน กระนั้น ทางนักพัฒนาก็มีแผนการที่จะนำมันมาทดสอบบนระบบจริงของ Bitcoin ในเร็วๆนี้แล้ว อ้างอิงจาก CEO ของ Lightning Labs นามว่า Elizabeth Stark
“วันนี้เราขอภูมิใจนำเสนอซอฟต์แวร์ Lightning Network Daemon เวอร์ชันอัลฟ่า 0.3 ซึ่งถือเป็นตัวเวอร์ชันสุดท้ายก่อนที่ทางเราจะออกเวอร์ชันเบต้าสำหรับขึ้นไปทดสอบบน mainnet” กล่าวโดยนาง Stark “เราไม่สามารถที่จะประมาณวันและเวลาที่แน่ชัดได้ แต่เป้าหมายของเราคือการนำมันมาติดตั้งทันทีที่มันถูกทดสอบว่าสามารถใช้งานจริงได้ เราอาจจะได้เห็นการทดสอบทำธุรกรรมบน mainnet โดยนักพัฒนา ทันทีที่มีการเปิดใช้งาน SegWit”
และแม้ว่าจะมีการเปิดใช้งาน Litghtning Network แล้วนั้น มันก็อาจจะใช้เวลาพักใหญ่ๆในการเพิ่มฟีเจอร์ระดับสูงของ Lightning Network เข้ามาในอนาคต อย่างเช่น atomic swaps ที่ทำให้การแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างเหรียญบน blockchain ที่ต่างกัน (เช่น Bitcoin และ Litecoin) สามารถทำได้อย่างรวดเร็วในทันที แบบไม่มีค่าธรรมเนียม โดยนาง Stark กล่าวว่าในขณะนี้การพัฒนาตัว ecosystem ของระบบดังกล่าวกำลังคืบหน้าไปไกลแล้ว
การพัฒนาแอพของ Lightning Network กำลังคืบหน้าไปด้วยดี ซึ่งเรารู้สึกตื่นเต้นมาก และเมื่อเวอร์ชัน mainnet ถูกปล่อยตัวออกมา ทางเราคาดว่าจะมีแอพและฟีเจอร์ใหม่ๆที่มากับ Lightning Network แบบพร้อมใช้งานได้ทันที” เธอกล่าว
ความเสี่ยง
ในขณะนี้ การเปิดใช้งาน SegWit ยังคงมีความเสี่ยงสำหรับผู้ใช้งานบางคน
การทำ soft fork บนเครือข่ายของ blockchain นั้นมีความเสี่ยงทุกครั้งที่ทำ ไม่ใช่แต่เฉพาะกับของ Bitcoin อย่างเดียว กล่าวคือยักขุดทุกๆคนจะต้องทำการรันซอฟต์แวร์ที่รองรับ protocol ตัวใหม่ๆนี้ ถ้าหากบางคนไม่ทำนั้น node บางตัวที่ใช้เก็บข้อมูลธุรกรรมอาจจะทำการเก็บธุรกรรมและบล็อกที่ผิด ซึ่งแม้ว่าภายหลังนั้น เครือข่ายมันจะทำการแก้ไขผ่านระบบ blockchain reorganization (“reorg”) ก็ตาม แต่ทว่าในอดีตนั้น การทำ soft fork ก่อให้เกิดปัญหาบนเครือข่ายขนาดเล็กมาแล้ว
“ผมคาดว่าความเสี่ยงเรื่องของ reorg นั้นยังค่อนข้างต่ำสำหรับ full node บน SegWit ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีปัญหาเรื่องการตรวจสอบ mining chain-split เมื่อสองปีที่แล้ว แต่นั่นก็ไม่ได้สร้างผลกระทบให้กับ full node แต่อย่างใด” กล่าวโดยนาย Peter Todd หรือที่ปรึกษา Blockchain “ข่าวดีก็คือ Bitcoin Core นั้นได้ทำการพัฒนาระบบและความเร็วมามากแล้ว ต่างจากของในอดีตที่ไม่เคยมีการพัฒนาพวกนี้มาก่อน”
ความเสี่ยงอีกข้อหนึ่งก็คือ ประมาณ 2-3 ชั่วโมงให้หลังจากการเปิดใช้ SegWit นั้นอาจจะมีความเสี่ยงด้านการโจมตี 51% จากนักขุด ซึ่งทางเทคนิคแล้ว ถ้าหากมี Bitcoin เป็นจำนวนมากถูกส่งไปยัง address ที่มี SegWit รองรับหลังจากการเปิดใช้แล้วนั้น ทางนักขุดก็จะยังสามารถที่จะ roll back การทำธุรกรรมนั้นกลับมาได้ และอาจจะทำให้พวกเขาขโมยเหรียญ Bitcoin ไปได้ในท้ายสุด
แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายเสมอไป เนื่องจากต้นทุนการจะทำการโจมตีแบบ 51% ให้สำเร็จได้นั้นถูกเพิ่มขึ้นในทุกๆบล็อกที่เกิดใหม่ ซึ่งเมื่อมีบล็อกเกิดใหม่เป็นจำนวนมากหลังจากเปิดใช้ SegWit แล้วนั้น การโจมตีแบบ 51% ก็จะสามารถทำได้ยากมาก ซึ่งนั่นก็จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงหลังจากการเปิดใช้งาน ดังนั้นผู้ใช้งาน Bitcoin จึงไม่ควรที่จะส่งธุรกรรมขนาดใหญ่เข้าไปใน address ของ SegWit ทันทีหลังจากเปิดใช้งาน และควรจะรอประมาณ 2-3 ชั่วโมงหลังจากการเปิดใช้ หรือแม้แต่เป็นระดับวัน
ท้ายสุดนี้ นาย Todd ได้กล่าวว่า service บางตัวที่ไม่เคยถูกทดสอบมาก่อนอาจจะไม่สามารถทำงานได้ทันทีที่มีการเปิดใช้ SegWit เพราะเนื่องจากว่าพวกเขาทำการติดตั้งการรองรับ SegWit แบบแค่ครึ่งเดียว “ยกตัวอย่างเช่น ตัว remote procedure calls อาจจะ request ธุรกรรมของ SegWit และอาจจะทำการยกเลิกมันในขณะเดียวกันเนื่องจากระบบที่ขัดข้อง” แต่ทว่าปัญหาแบบนี้ก็สามารถที่จะถูกแก้ไขได้อย่างง่ายดาย
The post SegWit เปิดใช้งานบน Bitcoin แล้ว และอะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนี้ appeared first on Siam Blockchain.
No comments:
Post a Comment