Wednesday, July 26, 2017

Cloud Mining ทางเลือกใหม่ของนักขุดเหรียญคริปโต

ในยุคที่เหรียญคริปโตกำลังเฟื่องฟูและเป็นที่รู้จักกันในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา

มีผู้ให้ความสนใจมากมายที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวงการคริปโตไม่ว่าจะเป็น การเข้าซื้อขายเหรียญคริปโตเพื่อเก็งกำไรในอนาคต, การเทรดหากำไรรอบสั้นจากค่าความผันผวนของอุปสงค์อุปทาน หรือแม้แต่การทำเหมืองแบบ GPU หรือ ASIC เพื่อครอบครองเหรียญคริปโต

ซึ่งแต่ละแนวทางต่างต้องนำทุนของผู้ที่เข้ามาทำเหมืองเพื่อลงทุนในเบื้องต้นก่อนโดยผลหวังกำไรในระยะยาว

ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา สำหรับเหรียญ Ether ที่โด่งดังจากกระแส ICO ทำให้ราคา Ether พุ่งสูงไปถึง 400 ดอลลาร์

ทำให้ผู้ที่มองตัวแปรเรื่องเงินเป็นดับแรกเข้ามาโดยไม่ศึกษาถึงความเสี่ยงต่างก็บาดเจ็บกันไป จากระยะเวลาคืนทุนที่หวังไว้ก็กินระยะเวลามากขึ้น

(ปัจจุบัน Ether มีราคาราวๆ 210-230 US) แม้ว่า Ether ราคาจะลดลงมามากแล้วก็ตาม แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ความสนใจในคริปโตตัวนี้ของนักลงทุนชาวไทยลดลงแม้แต่น้อย

สามารถดูได้จากราคาอุปกรณ์ทำเหมืองอย่างเช่นการ์ดจอที่ราคาสูงกว่าปกติแต่ก็ยังขายได้ดีอย่างเทน้ำเทท่า

(distributor ได้ผลประโยชน์มหาศาลจากการขายสินค้าแพงกว่าปกติอีกทั้งยังรับความเสี่ยงน้อยกว่านักขุด)

แล้วตัวเลือกอื่นล่ะ?

วันนี้มีอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการนำเงินไปลงทุนซื้อ RIG หรือ ASIC ที่ราคาแพงกว่าปกติเมื่อนำเข้ามาขายในประเทศไทย

บางแหล่งขายในราคาที่สูงมากกว่าราคาจองจากเว็บผู้ผลิตถึงเท่าตัว แต่ก็ยังมีผู้คนมากมายแห่ไปจองเครื่องจนหมดภายในระยะเวลาไม่กี่วัน

ผู้อ่านคงจะเคยได้ยิน การทำเหมืองแบบเช่า” หรือ Cloud mining หมายถึงทำสัญญาซื้อขายกำลังขุดกับทางผู้ให้บริการที่ มีข้อตกลงแตกต่างกันไปตามที่ระบุในสัญญาเช่า

การเลือกผู้ให้บริการก็มีความสำคัญไม่แพ้การศึกษาถึงความเสี่ยงในอนาคต ผู้ให้บริการก็มีหลายเจ้า ยกตัวอย่างเช่น Genesis -Mining, Hashflare, Hashnest, Hashing24 ฯลฯ

วันนี้ทางเราจะทำการเทียบข้อดีข้อเสียระหว่าง GPU, ASIC และ Cloud mining ว่าตัวเลือกไหนเหมาะกับใครมากกว่ากัน

แต่ถึงอย่างไรการลงทุนทำเหมืองทั้งสามแบบนี้ต้องมีการศึกษา คอนเซปต์ และความเสี่ยงของเหรียญนั้นๆมาก่อนเป็นสำคัญอันดับแรก

เนื่องจากผมเคยมีประสบการณ์การขุดทั้งแบบ GPU และ Cloud mining แล้วพบว่าแต่ละรูปแบบเหมืองมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้

ข้อดีและข้อเสียของ GPU และ ASIC

ข้อดี

  • เรามีเหมืองอยู่กับเราสามารถขายได้ทันทีในกรณีมีปัญหา
  • เปลี่ยนเหรียญที่จะขุดได้ (อัลกอริทึมของแต่ละเหรียญมีข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยีชิปและผู้ผลิต)
  • เลือกพูลขุดได้
  • ไม่มีข้อจำกัดทางสัญญา
  • อุ่นใจมีเหมืองวางให้เห็นให้ความรู้สึกว่าเป็นของๆเรา

ข้อเสีย

  • ต้นทุนสูงตามกระแส
  • ต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์พอสมควร
  • ต้องมีการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ทำเหมือง
  • ต้องมีการเตรียมสถานที่
  • ต้องเจอกับปัญหาเรื่องเสียงดังและความร้อน
  • บิลค่าไฟที่แพงขึ้น
  • อินเตอร์เน็ตมักมีปัญหา
  • ค่าเสื่อมอุปกรณ์ การเคลมอุปกรณ์ อาจใช้ระยะเวลานานทำให้ขาดรายได้
  • ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดอาจไฟไหม้
  • นอนไม่หลับ มีความกังวล แรงขุดตก การโอเวอร์คล็อค การจ่ายไฟไม่นิ่ง
  • ไฟดับ ไฟตก สัตว์เลี้ยง เพื่อนบ้านบ่นฯลฯ

ข้อดีและข้อเสียของ Cloud mining

ข้อดี

  • ง่าย ไม่ต้องมีความรู้ด้านการบำรุงรักษาแก้ไขฮาร์ดแวร์หรือโปรแกรมขุด
  • ทำสัญญาครั้งเดียว ตั้งค่า แล้วรอรับส่วนแบ่งตามสัญญา
  • กำลังขุดคงที่เพราะให้บริการโดยมืออาชีพ
  • เริ่มต้นโดนใช้ทุนน้อยหรือมากได้ตามกำลัง (แล้วแต่ผู้ให้บริการ)

ข้อเสีย

  • เหมืองไม่อยู่กับนักขุด อาจมีความกังวล
  • ทำสัญญาแล้วแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้
  • มีราคาสูงเมื่อเทียบกำลังขุดต่อเงินที่จ่าย
  • มีระบบ Affiliate ดูคล้ายแชร์ลูกโซ่ (แล้วแต่ผู้ให้บริการ)
  • มีเหตุบอกเลิกสัญญาในกรณีที่ขุดเหรียญได้ไม่พอค่าบำรุงดูแล
  • มีขั้นต่ำจ่ายเงินออก
  • กรณีที่ร้ายแรงที่สุดผู้ให้บริการอาจปิดหนี

หลังจากนี้จะแชร์ประสบการณ์ของผู้เขียนซึ่งอกหักมาจากการทำเหมืองแบบ GPUกล่าวคือผมเป็นแมงเม่าเหมือง (ซื้ออุปกรณ์มาแพง RX580 8GB 6 ชิ้น มาในราคาชิ้นละ 10,500 บาท) ตอนทำเหมืองใหม่ๆอะไรก็ดูดีไปหมด ทั้งราคาเหรียญ ทั้งค่าความยากในการขุดก็ไม่ได้มาก ( ตอนนี้ค่าความยากเป็นสองเท่าตัวแล้วสำหรับ Ether)

ก่อนหน้านี้เคยมีรายได้วันละ 1,200 บาท ตอนที่เหมืองมีรายได้ลดลง ผมจึงตัดสินใจขายเหมืองต่อได้ในราคาเกือบเท่าต้นทุนจึงไม่ถึงกับเจ็บอะไรมาก และยังได้ความความสบายใจไม่ต้องกังวลเรื่องเหมือง

ผมยังไม่ยอมแพ้ที่จะหาทางได้เหรียญไว้ในครอบครอง จนได้มาศึกษา Cloud-mining ถึงความเสี่ยงในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ ค่าบำรุงดูแลของผู้ให้บริการ ที่ดูเหมือนจะคืนทุนช้า

แต่ก็มีสัญญาตัวหนึ่งทำให้ผมอาจจะกลายเป็นเม่าในการลงทุนแบบ  Cloud-mining ก็ได้ สัญญาที่ว่านั้นคือการขุด Bitcoin สัญญาเช่าซื้อกำลังขุด SHA-256 แบบไม่มีระยะเวลาจำกัดจนกว่าจะมีเหตุบอกเลิกสัญญา

หลังจากที่อ่านสัญญาอย่างถี่ถ้วนแล้ว เก็คิดว่าไม่เป็นไร อาจจะคืนทุนช้าหน่อย แต่ก็ต้องได้ครอบครองเหรียญบ้าง (บางคนอาจถามว่าทำไมผมไม่ซื้อบิทคอยไว้ตอนนี้แล้วรอราคาขึ้น บอกเลยว่าผมทุนน้อย สัดส่วน กำไรจึงน้อยด้วย) เพราะผมหวังผลระยะยาว

จะขุดเก็บไว้ทำกำไรตอนราคาขึ้น หรือขุดมาขายทุกวันก็ตามสะดวกเผื่อวันไหนมีเหตุต้องใช้เงิน ด้วยต้นทุนเท่าเดิมตอนนี้ผมมีรายรับวันละ ประมาณ 500-600 บาท (ที่ราคา Bitcoin ละ 2700 US)

มันอาจจะดูไม่หวือหวาเหมือนตอนทำเหมือง Ether แต่ที่ผมได้คือความสบายใจ ไม่ต้องกังวลกับเหมืองสุดที่รักอีกต่อไป แฟนก็ไม่บ่นเพราะนางไม่รู้ว่าแอบทำ Cloud-mining แต่ก็อย่างว่า เพราะ

*การลงทุนมีความเสี่ยง อย่าลืมว่าเราควรลงทุนด้วยเงินจำนวนที่เราจะเสียได้*

Cloud mining ที่ผมเลือกทำสัญญาด้วยคือ Genesis Mining กำลังขุด 30TH/s ซึ่งมีราคาต่อหน่วย TH ละ 130 US

ขุด BITCOIN SHA-256 ไม่มีกำหนดระยะเวลาเป็นสัญญาระยะยาว แต่ยังมีความเสี่ยงที่ ค่าความยากอาจ จะขึ้นมหาศาล แต่ถ้าราคาของ Bitcoin ไล่ตามทันก็ไม่เป็นปัญหาทว่า

ถ้าราคา Bitcoin ร่วงหนักก็อาจจะคืนทุนช้าหรือในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดคือถูกบอกเลิกสัญญา แต่ผมก็พร้อมรับความเสี่ยงนี้และมีความเชื่อมั่นว่า Bitcoinจะเป็นเหรียญคริปโตที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าสกุลอื่นอยู่พอสมควร

แม้จะมีข่าวต่างๆออกมากระหน่ำทั้งกระแส Segwit2X อีกทั้งยังมี Bitcoin Unlimited และ Bitoin Cash เป็นต้น แต่ Bitcoin ก็กลับมายืนอยู่หยัดเป็นเหรียญอันดับหนึ่งที่เคยแข็งแกร่งยังไง มาวันนี้ก็ยังแข็งแกร่งไม่เคยเปลี่ยนเสมอ ถ้าไปได้ไกลกว่านั้นคือกำไรของผม

ทำไมผมถึงเลือก ผู้ให้บริการนี้ เพราะเป็นผู้ให้บริการ Genesis Mining อันดับ 1 ของโลก มีเครดิตยาวนานและพาร์ทเนอร์ที่น่าเชื่อถือ

ผมในฐานะผู้เขียนมาแนะนำเพื่อเป็นทางเลือกเท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงการตัดสินใจและความชอบส่วนตัวเท่านั้นผู้ให้บริการมีมากมายให้เลือก ผู้อ่านควรศึกษาสัญญาและอนาคตของเหรียญด้วยตนเองก่อนทำการลงทุนเสมอ

ผู้เขียนได้สร้าง Youtube Channel เพื่อบอกให้ทราบถึงความเสี่ยงต่างๆ โดยนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจได้ง่ายและเสริมความบันเทิง ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษา

The post Cloud Mining ทางเลือกใหม่ของนักขุดเหรียญคริปโต appeared first on Siam Blockchain.

No comments:

Post a Comment